โรงเรือนปลูกเมล่อน โรงเรือนปลูกพืช ประเภทต่างๆ

โดยปกติการปลูกพืชในที่โล่งแจ้งกับพืชท้องถิ่นทั่วไปมักจะไม่ค่อยเจอปัญหาเท่าไรนัก แต่สำหรับพืชบางชนิดอย่างเมล่อน หากเรานำมาปลูกกลางแจ้งอาจจะต้องเจอปัญหาการระบาดของแมลง หรือเชื้อราที่เกิดจากความชื้นของฝน ทั้งยังปัญหาสภาพอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงนิยมเพาะปลูกกันในโรงเรือนแทน แต่การสร้างโรงเรือนสำหรับปลูกพืชนั้นมักจะมีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับสินค้าเกษตรบางชนิดเท่านั้น

การปลูกพืชในโรงเรือน มีข้อดีดังนี้

  • สามารถป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปทำลายพืชที่ปลูก ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง จึงมีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในผลผลิต
  • ป้องกันปัญหาที่มากับน้ำฝน เช่น โรคราน้ำค้าง ปัญหารากเน่า
  • สามารถควบคุมความเข้มแสงแดดได้ง่าย ช่วยลดอุณหภูมิในช่วงที่แดดร้อนจัดได้ สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี
โรงเรือนปลูกเมล่อน (Greenhouse)

โรงเรือนสำหรับปลูกโดยทั่วไป สามารถแบ่งจากโครงสร้างได้หลักๆ ดังนี้

  • โรงเรือนปลูกพืชแบบทรงหลังคาโค้ง (High Tunnel Greenhouse) แบบขาเอียง
  • โรงเรือนปลูกพืชแบบทรงหลังคาโค้ง (High Tunnel Greenhouse) แบบขาตรง
  • โรงเรือนปลูกพืชแบบทรงหลังคาฟันเลื่อย (Saw tooth Greenhouse) หรือที่นิยมเรียกว่า หลังคา ก.ไก่
  • โรงเรือนปลูกพืชแบบทรงหลังคาโค้ง 2 ชั้น (Double Roof Greenhouse)
  • โรงเรือนปลูกพืชแบบปรับอากาศ (Evaporation Greenhouse)
  • โรงเรือนปลูกพืชแบบแฝด (Twin Greenhouse)

วัสดุส่วนโครงสร้างโรงเรือน

  • เสาโรงเรือนเหล็กกล่องกัลวาไนซ์ ขนาด 1.5 นิ้ว
  • คานระนาบ คานยาวด้านข้าง เหล็กกลมชุบกันสนิมกัลวาไนซ์ ขนาด 1 นิ้ว
  • โครงหลังคา แขนค้ำยัน เสากระโดงและแขนยึดโค้ง เหล็กกลมกัลวาไนซ์ ขนาด 1 นิ้ว
  • คานยาวยึดโค้งด้านบน คานยาวยึดคานระนาบ เหล็กกลมกัลวาไนซ์ ขนาด 3/4 นิ้ว
  • ประตูใช้เหล็กกล่องกัลวาไนซ์

วัสดุคลุมโรงเรือน

  • ด้านบนคลุมด้วยพลาสติก PE 200 ไมครอน
  • ด้านข้างและช่องระบายอากาศบนหลังคาคลุมด้วยตาข่ายกันแมลงสีขาวความถี่ 32 ตา
  • การยึดพลาสติกและมุ้งตาข่ายติดกับโรงเรือนยึดด้วยรางล็อคและสปริงล็อคในราง
  • การระบายอากาศ อาศัยการถ่ายเทอากาศจากด้านข้างโรงเรือน และด้านบนหลังคาโรงเรือน ผ่านตาข่ายกันแมลง
โรงเรือนปลูกเมล่อน (Greenhouse)
Message us