พริ ที่มีการปลูกและจำหน่ายในประเทศไทยมีมากมายหลายพันธุ์ หลายพันธุ์ก็ดูคล้ายกันจนแยกไม่ออก ในเบื้องต้นจึงมีการแบ่งพริกตามขนาดเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พริกพี่ใหญ่ไซส์ ได้แก่ พริกหวาน, พริกหยวก, และพริกหนุ่ม กลุ่มพริกไซส์กลาง ได้แก่ พริกชี้ฟ้า, พริกจินดา กลุ่มพริกไซส์เล็ก ได้แก่ พริกกะเหรี่ยง, พริกขี้หนู, พริกขี้หนูสวน, พริกขี้หนูนเป็นต้น
1. พริกชี้ฟ้า เป็นพริกที่ปลูกง่าย มีรสชาติเผ็ดพอประมาณ เป็นพริกที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหารกันเยอะที่สุด ผลพริกมีลักษณะทรงกลมยาว ปลายเรียวแหลม โค้งงอ ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดง ภายในผลกลวงมีแกนกลาง จะมีเมล็ดกลมแบนเล็กๆ สีเหลืองอ่อนเกาะแกนเยอะมาก
สายพันธุ์พริกชี้ฟ้า แบ่งได้ป็น 2 กลุ่ม
- เพื่อใช้ประกอบอาหารสด พันธุ์ที่ปลูกมีทั้งพันธุ์พื้นเมือง พันธ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น พันธุ์มันบางช้าง พันธ์หนุ่มมอดินแดง
- เพื่อใช้แปรรูปทำซอสพริก เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเช่นกัน มีทั้งสายพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงาน เช่น พันธุ์หยกสวรรค์ พันธุ์หยกสยาม พันธุ์แม่ปิง 80 พันธ์เรตฮอต TA100
2. พริกจินดา จัดอยู่ในกลุ่มพริกขี้หนูผลใหญ่ที่มีความสำคัญในฐานะพืชเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน ใช้ทั้งในรูปพริกแห้ง พริกสด และซอสพริก มีแหล่งผลิตที่สําคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง เป็นต้น
พริกจินดา ผลมีขนาดเล็กเรียวยาว ผลชี้ขึ้นเป็นส่วนมาก ผลดิบมีสีเขียว แก่ ผลสุกสีแดงเข้ม ใช้ได้ทั้งผลผลิตสดและแห้ง ผลที่ตากแห้งแล้วจะมีสีสวย กรอบ ตําให้แหลกง่าย มีจํานวนเมล็ดมาก น้ำหนักมาก ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตดี และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทรงพุ่มกว้างประมาณ 50-60 เซนติเมตร ต้นสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยวหลังการย้ายกล้าประมาณ 90 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 60-90 วัน พันธุ์ที่ปลูกมีทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงานราชการและเอกชน
3. พริกขี้หนูสวน เป็นไม้พุ่มตั้งตรง สูงประมาณ 1-4 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากลําต้นแบบสลับ รูปร่างใบเป็นรูปไข่ ส่วนกว้างสุดอยู่ทางฐานใบและเรียวไปหาปลาย ผิวใบเรียบ ไม่มีขนดอก เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาว 5 กลีบ มีจํานวนเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นผลชนิดเบอร์รี่ แต่มีลักษณะยาวคล้ายผัก ผลจะตั้งชี้ขึ้น รูปร่างและขนาดของผลเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุ์ ส่วนมากผลมีขนาดเล็กแต่มีรสเผ็ดมาก สภาพอากาศและอุณหภูมิในแต่ละ ท้องถิ่นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเผ็ดร้อนของพริกได้ ปัจจุบันนอกจาก สายพันธุ์พื้นเมืองแล้ว ยังมีการพัฒนาพันธุ์ลูกผสมต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย
4. พริกกะเหรี่ยง เป็นสายพันธุ์พริกที่นิยมปลูกกันตามชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะเด่นคือ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนทานต่อสภาวะอากาศและโรคแมลง ลําต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถให้ผลผลิตติดต่อกัน เป็นระยะเวลานาน นิยมทําเป็นพริกตากแห้งได้ดี คุณภาพผลสด 3 กิโลกรัม ตากแห้งได้ 1-1.3 กิโลกรัม อีกทั้งมีความเผ็ดและหอม ซึ่งเป็นลักษณะประจําพันธ์ุของพริกกะเหรี่ยง จึงทําให้โรงงานทําซอสพริกนิยมนําไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียว เพื่อเพิ่มความเผ็ดและความหอม
5. พริกซูเปอร์ฮอต เป็นพริกขี้หนูพันธุ์ลูกผสมที่มีจุดเด่นตรงที่ผลผลิตต่อไร่สูง เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น คุณภาพของผลผลิตที่สม่ำเสมอ ตรงกับความต้องการของตลาด ลักษณะเด่นคือ ต้นสูงใหญ่ แตกแขนงดี ข้อถี่และต่อยอดดีมาก ขนาดผล ยาว 5-7 เซนติเมตร ติดผลดก ทนทานโรค ผลดิบสีเขียว-เขียวเข้ม ผลสุกสี แดง-แดงเข้ม อายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด ต่อยอด การพัฒนาสายพันธุ์พริกโดยได้พัฒนาพันธุ์พริกขี้หนูลูกผสม “ซูเปอร์ฮอต 2” มี คุณสมบัติคือ ความยาวผลที่เพิ่มขึ้นและยาวสม่ำเสมอตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง สีแดงสด มีรสเผ็ดกว่า มีเนื้อผลหนาและแน่น จึงทําให้ผลพริกไม่เน่าง่าย ผลผลิตไม่เสียหายแม้ต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลๆ และสามารถนําไปแปรรูปได้หลากหลาย เช่น พริกป่น พริกแกง น้ำพริก ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ เป็นต้น
6. พริกเหลือง เป็นหนึ่งในกลุ่มของพริกใหญ่ และมีความต้องการบริโภคพริกเหลืองของคนไทยยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเมื่อนํามาประกอบอาหารจะได้สีและรสชาติที่มีความหอมเฉพาะตัว ปัจจุบันพริกเหลืองที่ปลูกเป็นพันธุ์พริกเหลืองบางบัวทอง