กล้วยน้ำว้า…ควรปลูกเดือนไหนดี

กล้วยน้ำว้า (Cultivated Banana) เป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะคือช่วง 15-35 องศาเซลเซียส ดินความสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี และการหมุนเวียนอากาศดี มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-7 มีระยะเวลาการปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลประมาณ 1 ปี (ตั้งแต่ปลูกจนถึงแทงปลีใช้ระยะประมาณ 8 เดือน และช่วงแทงปลีถึงระยะเก็บเกี่ยว 4 เดือน) ถ้าช่วงหน้าหนาวที่มีอากาศเย็นจะใช้เวลาถึงช่วงแทงปลีนานขึ้นกว่าหน้าร้อน

กล้วยน้ำว้า…ควรปลูกเดือนไหนดี

คนโบราณมักพูดถึงกล้วยน้ำว้าเอาไว้ว่า “ปลูกเดือนแปดตายเฒ่า ปลูกเดือนเก้าตายพราย” เดือนที่ว่านี้เป็นการนับเดือนแบบดั้งเดิม ซึ่งเดือนเก้าจะตรงกับช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเข้าพรรษาและมีฝนตกชุก เหตุผลที่คนสมัยก่อนห้ามปลูกกล้วยในช่วงเข้าพรรษา ถ้าอธิบายด้วยความรู้สมัยใหม่ก็จะได้ประมาณนี้

  1. ปัญหาฝนตกชุก หากปลูกกล้วยในที่ลุ่ม หน่อกล้วยที่พึ่งปลูกใหม่ซึ่งยังไม่มีภูมิคุ้มกัน มีโอกาศจะถูกน้ำท่วมขังทำให้เกิดปัญหารากเน่าได้ง่าย หากปลูกในพื้นที่ที่ลาดชันก็อาจจะต่อการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
  2. ปัญหาเชื้อโรคที่มาในหน้าฝน หน้าเป็นช่วงที่ฝนตกท้องฟ้าปิดติดต่อกันหลายวัน ไม่ค่อยมีแสงแดด เชื้อโรคในดินก็จะเริ่มกระจายตัวได้มากกว่าปกติ
  3. ปัญหาเรื่องฝนทิ้งช่วง หลังจากนำกล้วยน้ำว้าลงปลูกในดินเสร็จแล้ว กล้วยจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการเดินรากเพื่อดูดสารอาหาร หลังจากนั้นจะเข้าสูช่วงเจริญเติบโต ซึ่งอาจจะหมดหน้าฝนพอดี เจอปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้การเติบโตของต้นกล้วยหยุดชะงัก
  4. ความสมบูรณ์ของผลกล้วย โดยปกติกล้วยจะเริ่มแทงปลี ต้องใช้เวลาประมาณ 8 เดือน นับตั้งแต่เริ่มเอาหน่อลงปลูก นั่นคือหากเราปลูกช่วงเข้าพรรษาก็จะครบกำหนดออกหวีออกเครือพอดีในช่วงหน้าแล้ง ส่งผลให้กล้วยมีลูกเล็กหรือลูกไม่สมบูรณ์ได้
  5. ปัญหาเรื่องดินเป็นกรดช่วงหน้าฝน เป็นสาเหตุที่ทำให้กล้วยน้ำว้าตายพราย ซึ่งจะแสดงอาการตอนตกเครือ แต่ถ้าสามารถแก้ปัญหาเรื่องความเป็นกรดของดินได้ก็จะไม่มีปัญหา จึงควรใส่ปูนขาวปรับสภาพกรดด่างของดินก่อนจะปลูกกล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า…ควรปลูกเดือนไหนดี

ในปัจจุบันที่มีแหล่งความรู้ต่างๆ มากขึ้น มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย จึงสามารถปลูกกล้วยได้ทุกฤดู โดยกล้วยเป็นพืชที่ต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นสูง แต่ไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง ดังนั้นจึงนิยมปลูกกล้วยให้เป็นแถวเพื่อจะได้ทำร่องระบายระบายน้ำได้ง่าย เพราะถ้าน้ำท่วมขังจะทำให้กล้วยเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ อีกทั้งช่วงหลังมานี้ได้มีการนำเอาระบบรดน้ำเข้ามาใช้ด้วย จึงไม่มีปัญหาการทำสวนกล้วยในช่วงหน้าแล้ง ก่อนปลูกควรเตรียมดินให้พร้อม เช็คค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ให้เหมาะสมก่อนจะเริ่มปลูกกล้วย

บางคนอาจจะถือเคล็ดเริ่มปลูกในวันพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของฤดูกาลเพาะปลูกมาตั้งแต่โบราณ หรือถ้าหากว่าเรามีการจัดการเรื่องดินและน้ำที่ดีแล้ว ก็สามารถปลูกกล้วยได้ทั้งปี

โรคตายพราย ของกล้วยน้ำว้า

โรคตายพราย (Panama disease หรือ Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense เข้าทำลายราก และมีการแพร่กระจายเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เกิดอุดตัน ใบจึงมีอาการขาดน้ำ เหี่ยวเฉา และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หักพับ การเจริญจะชะงักงัน และตายในที่สุด โรคนี้สามารถระบาดไปทางดิน ดังนั้นต้นที่อยู่ในบริเวณนั้นจะถูกโรคนี้ทำลายหมด จึงควรทำความสะอาดโคนกอกล้วย อย่าให้รก ทำทางระบายน้ำให้ดี ถ้ามีการระบาดมากขึ้นจำเป็นต้องใช้สารป้องกันและกำจัดเชื้อราเข้าช่วย

กล้วยน้ำว้า…ควรปลูกเดือนไหนดี

การปลูกกล้วยน้ำว้า

  • ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
  • ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
  • ขณะปลูกควรใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม
  • ควรใช้วัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง
  • รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
กล้วยน้ำว้า…ควรปลูกเดือนไหนดี

ระยะการปลูกกล้วยน้ำว้า

  • ควรเว้นระยะห่างไว้ที่ 2.5 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 2.5 เมตร
  • เนื้อที่ 1 ไร่ จะปลูกกล้วยน้ำว้าได้ประมาณ 200-250 ต้น

ตลาดรับซื้อกล้วยชนิดต่าง

Message us